ท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค)

ประวัติความเป็นมา
บริเวณที่เป็นบ้านท่าแร่ในปัจจุบันแต่เดิมเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ใหญ่ น้อยตามลักษณะป่าไม้เขตร้อนชื้น ทางทิศตะวัน ออกของหมู่บ้านติดกับหนองหาร ซึ่งก่อน พ .ศ.2482 ยังไม่มีประตูน้ำกั้นน้ำ หนองหาร ในฤดูแล้งบ้านท่าแร่จะอยู่ลึก จากริมฝั่งหนองหารประมาณ 3 กิโลเมตร สภาพที่เป็น ป่าใกล้ลำน้ำ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดตลอด จนมีปลาชุกชุม นับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์ที่สุดแก่งหนึ่งของบริเวณริมหนองหาร
การตั้งชุมชนครั้งแรกที่บ้านท่าแร่ เป็นชุมชนชาวคริสตัง ซึ่งอพยพมาจากตัวเมือง สกลนคร ซึ่งเป็นทั้งชาวญวนคริสตัง และชาวไทญ้ อ ซึ่งไม่พอใจการกีดกันการนับถือ ศานาคริสต์โรมันแคธอลิคของกลุ่มผู้ปกครอง เมืองสกลนครในสมัยนั้น (สมัย ร.5 ) ทั้งนี้ด้วยเหตุที่กลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสตัง จะมีการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาแตกต่างจาก พุทธศาสนิกชน เช่น การทำพิธีมิซซา การ รับศีลล้างบาป โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธี ประกอบกับนโยบายของราชสำนักที่กรุงเทพฯ ต้องการให้บ้าน เมืองบำรุงพุทธศานา มิให้มีการทำลายพุทธ ศาสนาแลถือเป็นนโยบายหลักของเจ้าเมืองด้วย กลุ่ม ชาวญวนคริสตังจึงถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ
ในช่วง เดือนมกราคม พ.ศ.2424 ได้มีคณะบาทหลวง ออกเดินทางจากกรุงเทพฯเข้าสู่ภาคอีสาน เพื่อเยี่ยม เยียนกลุ่มชาวคริสตังตามเมืองต่าง ๆ เช่น โคราช ชนบท ขอนแก่น กาฬสินธุ์ กมลาไสย ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สกลนครและนครพนม เมื่อคณะของบาทหลวงซึ่งประกอบด้วยบาทหลวงเกโกและ ครูทันชาวญวน มาถึงเมืองสกลนคร ทราบปัญหาดัง กล่าวจึงวางแผนย้ายกลุ่มชาวญวน มาถึงเมือง สกลนคร ทราบปัญหาดังกล่าวจึงวางแผนย้ายกลุ่มชาว ญวนและสถานที่เผยแพร่ศาสนาไปอยู่แห่งใหม่ โดยต่อแพไม้ไผ่ขนาดใหญ่บรรทุกผู้คนและ เครื่องใช้ที่จำเป็นขึ้นแพไม้ไผ่ อธิษฐานเทวดา มิดาแอล ให้พบแผ่นดินที่เหมาะแก่การ เผยแพร่คริสต์ศาสนา กระแสลมได้พัดใบเรือซึ่ง ทำจากผ้าห่มกั้นลมไปถึงชายฝั่งอีก แห่งหนึ่งของหนองหาร พื้นดินส่วนใหญ่เต็มไป ด้วยดินลูกรังที่เรียกว่า"หินแฮ่" จึงพากันตั้งชุมชนใหม่ขึ้นและเรียกว่า "ท่าแร่" ในเดือนพฤศจิกายน 2427
ผู้คนที่อพยพมาอยู่บ้านท่าแร่รุ่นแรกมีจำนวน 20 ครอบครัว เป็นจำนวน 150 คน มีทั้งชาวญวน คริสตัง ชาวไทญ้อสกลนครและในเวลาต่อมาได้ มีชาวผู้ไทยจากที่ต่าง ๆ อพยพเข้ามา อยู่ในชุมชนแห่งนี้ด้วย ภายใต้การนำ ของบาทหลวงยอแซฟ กอมมูริเออร์ ได้พัฒนา ชุชนให้เป็นตารางยุโรป การสร้างโบสถ์ การสร้างบ้านเรือนลักษณะต่าง ๆ ตามฐานะ ทำให้ ชุมชนแห่งใหม่มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ศิลป กรรม แตกต่างไปจากชุมชนอื่น ๆ ที่เป็น ชาวไทลาวและกลุ่มเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ จึงนับ ว่าชุมชนบ้านท่าแร่มีประวัติศาสตร์เป็นที่ น่าสนใจแห่งหนึ่งของสกลนคร ความสำคัญต่อชุมชน
ชุมชนบ้านท่าแร่ เป็นชุมชนสำคัญ ในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันแคธอลิคใน สกลนคร โดยถือเป็นศูนย์กลางของแคธอลิค ระดับเขต ที่เรียกว่า มิซซัง ท่าแร่ - หนองแสง ครอบ คลุมเขตการปกครองถึงจังหวัดนครพนมด้วย นอกจาก นี้ยังเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ศาสนาไป ยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร
เนื่องจากเป็นชุมชนเก่าและมีผู้คนหลายกลุ่ม อาศัยในชุมชนแห่งนี้ จึงทำให้มีอาคาร รูปแบบสถาปัตยกรรมหลายรูปแบบ กล่าวคือ
1. อาคารเนื่องในศาสนาใช้เป็นที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งแต่เดิมเป็นอาคารไม้ มีหอด้านหน้า 2 หอ ด้านหลังสุดอีก 1 หอ มีมุขด้านข้าง ๆ ละ 2 มุข จุคนได้ประมาณ 1,000 คน โบสถ์เก่าหลังนี้คากว่าคงสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1898 - 1900ต่อมาประมาณ ค .ศ. 1992 มีผู้ใจศรัทธา ได้ซื้อระฆัง ใหม่ 3 ใบ ขนาดลดหลั่นกันตามลำดับไปถวาย วัด ทางวัดจึงได้ดัดแปลงอาคารที่มีอยู่ ให้ใช้กับระฆัง 3 ใบ โดยตัดหอด้านหน้า ทั้ง 2 หออกแล้วได้สร้างหอใหม่ตรงกลาง ด้าน

หน้าวัดเพื่อแขวนระฆัง 3 ใบ
กาลเวลาล่วงมาถึง พ.ศ.2521 อาคารโบสถ์เก่าชำรุด ทรุดโทรมมาก พระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ ผู้ เป็นประมุขมิซซังท่าแร่ - หนองแสง ในขณะ นั้น ได้ปรึกษากับคณะกรรมการวัด และเห็นพ้องต้อง กันว่าควรสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ โดยรื้ออาคาร เก่าออก สถาปัตยกรรมอาคารหลังใหม่เป็นรูปทรงเรือใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนย้ายชาวคริสตังจากสกลนครมายัง ท่าแร่ และเรือกชื่อว่าสนมหาวิหารมิคา แอล

อาคารที่อยู่อาศัย อาคารที่อยู่อาศัยมี 4 รูปแบบคือ
1. อาคารที่เป็นเรือนเกย ใน ปัจจุบันที่มีสภาพใช้เป็นที่อยู่อาศัยมี 3 หลัง
2. เรือนแถวชั้นเดียวพื้นติดดิน เป็น เรือนแถวที่มีอายุประมาณ 60 - 70 ปี ใน ด้านโครงสร้างและส่วนที่ว่างหน้าบ้าน ซึ่งอาจ ขายสินค้านั่งเล่น รับแขก ส่วนที่เป็นที่ อยู่อาศัยใช้ไม้กั้นเป็นห้อง ๆ ให้บุตรสาว หรือครอบครัวบุตรหลานอาศัยหรือใช้เป็นที่เก็บ สิ่งของเครื่องใช้และทำเป็นห้องนอน
3. เรือนแถวสองชั้นพื้นติดดิน ลักษณะของเรือนแถว ชนิดนี้เป็นเรือนแถวที่ทำจากไม้ทั้งหลัง มักเป็นเรือนแถว 3 คูหา แต่เปิดโล่งตลอดชั้น ล่าง เป็นที่อยู่อาศัยของพ่อ - แม่ หัวหน้า ครอบครัว ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยของบุตรสาว บุตรเขย - สะใภ้
4. อาคารก่ออิฐสองชั้น เป็นอาคารที่โดดเด่นในปัจจุบันที่ใช้เป็นที่ อยู่อาศัยมีประมาณ 5 หลัง อาคารชนิดนี้ก่อด้วย อิฐเผา และวัสดุที่ยึดผนังเช่น ปูน ทราย ส่วน อุปกรณ์ประเภทเหล็กนั้นใช้ประกอบน้อยที่สุด ทั้งนี้ เพราะมีราคาแพงในการก่อสร้างเมื่อ 80 - 90 ปีที่ผ่านมา

0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก